เว็บสำเร็จรูป เว็บสำเร็จรูปภาครัฐ เว็บโรงเรียน เว็บไซต์ส่วนตัว ระบบบริหารจัดการเว็บไซต์ (CMS) ฟรี

การติดตั้ง GCMS 10.1.0

GCMS 10.1.0 มีการติดตั้งที่แตกต่างจากเดิมไปนิดเดียวเองครับ เนื่องจากในเวอร์ชั่นนี้ ผมได้รวมเอาทั้งเว็บแบบปกติ และ เว็บโรงเรียนเข้าด้วยกันในตัวติดตั้งไปเลย ซึ่งในการติดตั้งจะมีขั้นตอนในการเลือกว่าจะติดตั้งเว็บไซต์ประเภทใดเพิ่มเติมมาเท่านั้น
ขั้นตอนแรก ดาวน์โหลด GCMS.zip มาก่อนเลยครับ
ขั้นตอนที่สองทำการคลาย zip ไฟล์ที่ดาวน์โหลดมา และ อัปโหลดไฟล์ทั้งหมดไปยัง Server
  1. เข้าไปยังไดเรคทอรี่ที่ต้องการอัปโหลดด้วยโปรแกรม ftp เช่น FileZila ตัวอย่างนี้เป็นการอัปโหลดไปยังไดเรคทอรี่ public_html
  2. เลือกไฟล์ทั้งหมดจากโฟลเดอร์ที่ได้คลาย zip แล้ว และอัปโหลดขึ้นบน Server
ขั้นตอนที่สาม ทำการปรับ chmod ให้โฟลเดอร์ public_html/ และ โฟลเดอร์ bin/ ให้สามารถเขียนได้ และจดจำค่าเดิมไว้ด้วย (ตัวอย่างเปลี่ยนจาก 755 เป็น 757)
  1. เลือกโฟลเดอร์ที่ต้องการปรับ chmod ด้วยการคลิกขวา เลือกไปที่เมนู property (คุณสมบัติ)
  2. ทำการขีดถูกที่ช่อง เขียน ของ public (สิทธิของสาธารณะ) หรือกรอกค่าตัวเลขเป็น 757
ขั้นตอนที่สี่ จะเป็นการเริ่มกระบวนการติดตั้ง โดยเปิดบราวเซอร์ เรียกไปยังโดเมนที่อัปโหลดไว้ ตัวติดตั้งจะพาไปยังหน้าติดตั้งโดยอัตโนมัติ
  1. ทำการเลือกตัวเลือกว่าต้องการติดตั้งเว็บไซต์แบบใด เช่น เว็บไซต์ทั่วไป หรือ เว็บไซต์โรงเรียน ซึ่งตัวติดตั้งจะทำการติดตั้งระบบรวมถึงข้อมูลเริ่มต้นที่เหมาะสมกับประเภทเว็บไซต์ที่เลือก โดยข้อแตกต่างของเว็บไซต์ทั้งสองแบบนี้คือ
    • เว็บไซต์ทั่วไป จะเป็นการติดตั้งแบบน้อยที่สุด โดยจะมีการติดตั้งเฉพาะโมดูลที่จเป็นเท่านั้น เหมาะสำหรับการทำเว็บไซต์ ส่วนตัว เว็บไซต์บริษัท เน้นการใช้งาน บทความ และ เว็บบอร์ด เท่านั้น
    • เว็บไซต์โรงเรียนหรือ อบต. จะเป็นการติดตั้งทุกโมดูลที่มี ซึ่งโมดูลที่เพิ่มเติมมา จะเหมาะสำหรับการใช้งานเป็น เว็บไซต์ของโรงรียน หรือ หน่วยงานราชการ
  2. คลิก ติดตั้ง เพื่อเริ่มกระบวนการติดตั้ง
ขั้นตอนที่ห้า เป็นการกรอกค่าเกี่ยวกับ ftp ขั้นตอนนี้ไม่ต้องสนใจมันก็ได้ ให้ข้ามไปขั้นตอนถัดไปได้เลย
ขั้นตอนที่หก เป็นการตรวจสอบความพร้อมในการติดตั้ง (ไฟล์และโฟลเดอร์) โดยทั่วไป ถ้ามีการดำเนินการตามที่ผมบอกตั้งแต่ต้นโดยสมบูรณ์แล้ว จะไม่เกิดปัญหาในขั้นตอนนี้ (รายการแรกเนื่องจากเราไม่ได้ตั้งค่า ftp ไว้เลยขึ้นสีแดง สามารถติดตั้งได้ ส่วนรายการอื่นๆต้องเป็นสีเขียวเท่านั้น)
ขั้นตอนที่เจ็ด เป็นการกรอกข้อมูลเบื้องต้นของผู้ดูแลระบบ ให้ใช้ที่อยู่อีเมล์ที่ติดต่อได้เท่านั้น
ขั้นตอนที่แปด เป็นการกรอกค่ากำหนดต่างๆเกี่ยวกับฐานข้อมูล และ ของเว็บไซต์ ค่าต่างๆเหล่านี้ถ้าไม่รู้ให้ติดต่อผู้ดูแลระบบเลยครับ
  1. ชื่อโฮสต์ ปกติตัวติดตั้งจะกรอกให้จากชื่อโดเมนที่ใช้งานอยู่ ยกเว้นหากเป็นชื่อโดเมนภาษาไทย ให้กรอกชื่อโดเมนที่เข้ารหัสแล้ว (ที่ขึ้นต้นด้วย xn--) ลงในช่องนี้
  2. ที่อยู่อีเมล์ เป็นที่อยู่อีเมล์ที่ใช้ในการส่งจดหมาย ปกตจะใช้ชื่อ no-reply ซึ่งอีเมล์นี้จะต้องเป็นอีเมล์ที่มีอยู่จริง (ถ้าไม่มีก็ต้องสร้างขึ้นมาด้วย)
  3. ชื่อผู้ใช้ เป็น username ของ mySQL ปกติก็เป็นตัวเดียวกันกับที่ใช้เข้าระบบ phpMyAdmin ครับ
  4. รหัสผ่าน ของ username ตามข้อ 3 แหละครับ
  5. ชื่อฐานข้อมูล คือชื่อของฐานข้อมูลที่ต้องการติดตั้ง GCMS
  6. คำนำหน้าตาราง (prefix) กำหนดให้แตกต่างจากตารางอื่นๆที่มีอยู่ หากต้องติดตั้ง GCMS ร่วมกับเว็บไซต์อื่นๆ
  7. ตัวเลือกสุดท้าย จะบอกว่ากำลังติดตั้งอะไรอยู่ และ ต้องการให้นำเข้าข้อมูลตัวอย่างด้วยหรือไม่ ข้อสังเกตุคือ จะเป็นตัวเลือกเดียวกันกับที่ได้เลือกไว้ในขั้นตอนที่สี่
ถ้าได้ข้อมูลครบถ้วนถูกต้องแล้วให้คลิก ติดตั้ง เลยครับ
ขั้นตอนที่เก้า ถ้าการติดตั้งสมบูรณ์ ทุกรายการจะต้องเป็นสีเขียว ในขั้นตอนนี้ให้ทำการลบโฟลเดอร์ admin/install/ ออก และปรับ chmod ให้กับไดเร็คทอรี่ที่ได้ปรับไว้ในขั้นตอนที่สาม ให้กลับเป็นค่าเดิม จากนั้นคลิกที่ เข้าระบบผู้ดูแลได้เลย เป็นอันเสร็จกระบวนการติดตั้ง
ขั้นตอนที่สิบ ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาด ตัวติดตั้งจะพาเข้าไปยังหน้าตั้งค่าแอดมิน เพื่อเริ่มตั้งค่าไซต์ได้เลย

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

^